การเอาผัวเอาเมีย (การแต่งงาน)

ไทยพวนศรีสัชนาลัย

คำว่า "แต่งงาน" เป็นคำใหม่สำหรับคนไทยพวนเพราะคำไทยพวนแท้ๆ การแต่งงานก็คือ เอาผัวเอาเมีย ซึ่งชาวไทยพวนเรียกว่า "กินหมู" เพราะงานนี้จพฆ่าหมูไปทำลสาบหยวกและแกงเลี้ยงแขกที่รับเชิญทั้งบ้านเจ้าบ่าวเจ้าสาว

การแต่งงานของชาวไทยพวนศรีสัชนาลัย มักนิยมจัดกันในเดือนยี่ เดือน สี่ เดือนหก และเดือนสิบสอง การแต่งงานเกิดขึ้นจากการตกลงปลงใจของหนุ่มสาว หรือไม่ก็จากการที่ผู้ใหญ่เป็นผู้เลือกหาคู่ให้ ประเพณีแต่งงานจะมีการเริ่มต้นที่การ "เว้าสาว" หรือการ "ลมสาว" (คุยสาว) วิธีที่ชายหนุ่มหญิงสาวจะบอกรักให้แก่กัน จะนิยมใช้สถานที่อยู่ ๒ แห่ง คือที่ "ข่วง" หรือสถายที่ทอผ้าและที่บ้านของฝ่ายหญิง ในยามค่ำคืนหนุ่มจะมาหาสาวที่บ้านอาจจะใช้ไม้แหย่ที่รู "กระทอด" หรือเรียกขานให้สาวตื่นมาคุยกันที่ "ป่องเอี๊ยม" หนุ่มสาวจะคุยกันจนดึกดื่นถึงค่อนรุ่งก็มี

เมื่อเข้าใจกันดีแล้วก็ถึงการ "เจาะสาว" การเจาะสาว คือ การทาบทาม ผู้ที่จะทำหน้านี้จะเป็นผู้ที่คนเคารพนับถือในหมู่บ้าน มีศิลปะในการพูดอย่างดีเยี่ยม การเจาะสาวนั้นก็เพื่อถามความสมัครใจของฝ่ายหญิง แล้วจึงมีการนัดหมายจัดพิธีกันต่อไป

ในการทาบทามกันนั้น หาก พ่อ แม่ ของฝ่ายหญิง เห็นว่าลูกของตนเองทำอะไรไม่เป็นก็จะพูดออกตัวไว้ก่อน เช่น "ลูกข้อยต่ำหุบ่เป็นหน้า ต่ำผ้าบ่เป็นลาย จูงควายเอาหางไว้ก่อน" เป็นการพูดออกตัวไว้ว่า ถ้าจะแต่งงานกับลูกสาว เมื่อแต่งไปแล้วห้ามเอามาคืน การเจาะสาวจะต้องไปตอนกลางคืน และไปเป็นคู่ ฝ่ายหญิงจะไม่ให้ลูกสาวมานั่งฟังด้วย ถ้าลูกสาวดีก็รับรองว่าดี ถ้าไม่ดีก็จะกล่าวข้อความดังกล่าว

เมื่อตกลงกันแล้วขั้นตอนต่อไปคือ การห่อยาหรือการเชิญแขก คือการนำยาเส้นห่อด้วยใบตองแล้วเอาฟางข้าวมัด ให้สาวบริสุทธิ์จำนวน ๔ คน หาบห่อยาเส้นเดินแจกญาติสนิทมิตรสหายในหมู่บ้าน หาบแรกจะต้องมีไต้ ๒ ลูก กระเทียม ๒ หัว และเลือ ๒ ห่อ เพื่อเป็นเคล็ดเสริมสิริมงคลให้กับคู่บ่าวสาว ผู้ที่ได้รับห่อยาจะมีสิ่งของตอบแทนเพื่อให้นำมาใช้ประกอบพิธีแต่งงาน เช่น อาจให้พริก ๒ ห่อ หรือ เกลือ ๒ ห่อ ของที่ให้นี้จะเป็นเลขคู่

การถามห่อยาจึงเปรียบเสมือนการแจกบัตรเชิญไปงานแต่งงานนั่นเอง และที่สำคัญที่สุดในช่วงระยะเวลานี้ถ้ามีผู้คนล้มตายในหมู่บ้าน เรียกว่า "ตายทับ" จะต้องแก้เคล็ดด้วยการไปบอกคืนลูกสาวฝ่ายบ้านเจ้าสาว และเลื่อนวันประกอบพิธีออกไป บางคู่ก็ไม่ได้แต่งงานกัน คือ ฝ่ายชายพบหญิงคนใหม่ หรือฝ่ายหญิงพบชายคนใหม่ หากเหตุการณ์ราบรื่นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการจัดพิธีแต่งงานที่ชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวเรียกว่า มื้อแต่ง

เมื่อถึง "มื้อแต่ง" จะเรียกว่า "วันก่าวสาว" (วันแต่งงาน) เป็นวันประกาศตัวเจ้าสาวอย่างเป็นทางการให้ชาวบ้านได้รับรู้ ขบวนขันหมากจะตั้งที่บ้านเจ้าสาว ขันหมากแบบไทยพวนศรีสัชนาลัยนั้นจะใช้พานทองเหลืองทรงสูง ในขันหมากจะมีหมากสี่คำวางไว้ที่มุม คำหมากแต่ละคำจะประกอบด้วย ใบพลู หมาก จุยาเส้น สีเสียด และค่าสินสอด (ตามที่ตกลงกันไว้) พานเงินค่าน้ำนมจำนวนสี่สิบสองบาทห้าสิบสตางค์ เพื่อแสดงความเป็นครพวน เงินค่าน้ำนมนั้นยังคงเป็นธรรมเนียมยึดปฎิบ้ติมาจนถึงปัจจุบัน ใบเงิน ใบทอง ใบนาค อย่างละ ๙ ใบ โรยด้วยดอกรักและห่อขันหมากด้วยผ้าแดง ในสมัยก่อนขณะเคลื่อขบวนขันหมากเจ้าบ่าวจะต้องสะพายดาบเพื่อป้องกันมิให้โจรปล้นขันหมาก ผู้นำขบวนจะร้องเพลงที่มีเนื้อร้องสองแง่สองง่ามอย่างสนุกสนาน

 
การจดขันหมากจะไม่จัดทำไว้ล่วงหน้า แต่จะทำในคืนวันที่รุ่งขึ้นเป็นวันแต่ง ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องเตรียมพานขันหมากไว้หนึ่งพานเช่นกัน แต่ไม่ต้องมีเงินค่าสินสอดและค่าน้ำนม เพื่อจะได้ "ไขว้" คือยื่นให้เถ้าแก่ฝ่ายชาย และพานหมากของฝ่ายชายก็จะยื่นให้เฒ่าแก่ของฝ่ายหญิง

ประเพณีแต่งงานของชาวไทยพวนศรีสัชนาลัย แฝงไว้ด้วยข้อคิด ความเชื่อหลายอย่าง หากเจ้าสาวที่เข้าพิธีแต่งงานมีพี่สาวที่ยังโสด จะต้องให้เงินกับพี่สาว เพื่อเป็นเคล็ด ภาษาไทยพวนเรียกว่า "ค่าแข็ง" บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าหากทำอย่างนี้แล้วพี่สาวจะไม่ไร้คู่ ตลอดพิธีแต่งงาน ห้ามทำเครื่องแก้ว ถ้วยชามแตก เพราะเชื่อว่าอาจทำให้คู่สมรสมีความร้าวฉานเกิดขึ้นในระว่างการครองรักครองเรือน

เมื่อขบวนเจ้าบ่าวมาถึง พ่อเซ้อ (เถ้าแก่หรือผู้อวุโสฝ่ายชาย) แม่เซ้อ (เถ้าแก่หรือผู้อวุโสฝ่ายหญิง) จะโต้คารมกันด้วยคำพูดที่คมคาย ซึ้งจะใช้ไหวพริบปฎิภาณเป็นอย่างมาก เพื่อให้เกิดความสนุกสนานก่อนเปิดสินสอดทองหมั้น แล้วจึงเริ่มพิธีสงฆ์ (ซึ่งสมัยโบราณไม่มี) เมื่อทำพิธีเสร็จเรียบร้อย เจ้าบ่าวต้องนอนบ้านเจ้าสาว ๓ คืน แล้วจากนั้นจะกลับบ้านของตน

การกลับบ้านของเจ้าบ่าวหลังพิธีแต่งงานเรียกว่า วัน "ขืนฮอย" คือการคืนรอยเดิม หลังจากนั้นจึงจะกลับไปหาเมียที่บ้านพ่อตา แม่ยายต่อไป

ขืน แปลว่า คืน
ฮอย แปลว่า รอย
ขึนฮอย จึงแปลว่า การคืนรอยเดิมนั่นเอง

การขึนฮอย ชายจะสะพายถุงแดงในถุงจะมี "อูบ" หรือตลับที่เมียจะใส่คำหมาก ยาเส้น บุหรี่มาให้ แล้วฝ่ายชายนอนที่บ้าน ๑ คืน จึงกลับไปหาเมีย

เมื่อผัวกลับจาก "ขืนฮอย" บ้านพ่อแม่ตนแล้วต่อมาต้องพาเมียสาวไป "ยามเฮือน" ยามเฮือน คือ การที่ฝ่ายหญิงไปเยี่ยมยามแนะนำตัวกับบ้านและเพื่อนบ้านของผัว โดยจะนำสิ่งของไปให้เจ้าของบ้านด้วย หากญาติสนิทมิตรสหายฝ่ายผัวตัวเมียก็จะยามคู่ คือ การให้ผ้าซื่นขาวสำหรับไปวัดฟังธรรม ๑ ผืน วซิ่นมุก ๑ ผืน สำหรับฝ่ายหญิง ส่วนฝ่ายชายก็จะให้กางเกงผ้าขาวม้า นอกจากนี้ยังมีข้าวต้ม ๒ มัด ขนมกวนที่เรียกว่า ข้าวปาด ๒ ห่อ ผู้รับจะให้เงินแก่ผัวใหม่เมียใหม่ เป็นเงิน ๑๐๐ - ๒๐๐ บาท ตามแต่สภาพความเป็นอยู่ เมื่อสิ้นสุดพิธีนี้ก็เป็นอันว่าเสร็จพิธีการแต่งงานแบบชาวไทยพวนโบราณ
 
ส่วนการแต่งงานอีกแบบหนึ่งเรียกว่า "การวักเซ่น" เป็นพิธีการแต่งงานแบบง่ายๆไม่มีพิธีสงฆ์ มีการมัดข้อมือจากผู้ใหญ่ และเงินค่าสินสอดทองหมั้นตามความเหมาะสมเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากนัก จะจัดกันในหมู่ญาติพี่น้องของเจ้าบ่าวเจ้าสาว แล้วรับประทานอาหารร่วมกันจัดเพื่อให้สังคมในชุมชนยอมรับว่าได้ประพฤติ ปฎิบัติถูกต้องตามประเพณีสังคมแล้วสมัยก่อนการวักเซ่นจะจัดเฉพาะหนุ่มสาวที่หนีตามกันมาเท่านั้น ปัจจุบันมีคู่บ่าวสาวบางคู่จัดพิธีแต่งงานแบบวักเซ่นเพราะไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

ในอดีตเจ้าสาวชายไทยพวนศรีสัชนาลัยก่อนเข้าพิธีแต่งงานจะต้องเตรียมข้าวของเครืองใช้สำหรับเจ้าบ่าวเช่น ผ้าขิด ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดหน้า และถุงย่ามแดง เพื่อนำไปใช้ก่อนและหลังพิธีแต่งงาน คือ
 
ผ้าขิด
ผ้าขาวม้า
ผ้าเช็ดหน้า
ถุงย่ามแดง
ใช้สำหรับห่มตอนเช้า
ใช้พาดบ่าในพิธีแต่งงาน
ใช้เช็ดหน้าหลังจากล้างหน้าตอนเช้า
ใช้ใส่เงินค่าสินสอด จำนวน ๔๒ บาท ๕๐ สตางค์
 
ส่วนข้าวของที่เจ้าบ่าวจะนำติดตัวมาในวันแต่งงานคือ ใช้ก่างเหล็กหรือหีบเหล็กสำหรับใส่เสื้อผ้า และเงินเสี้ยน เงินด่าน เงินน้ำหกน้ำสาม เงินปิง เงินลาง (ชื่อเรียกเงินโบราณชนิดหนึ่งเพื่อเป็นเคล็ดให้ทำมาหากินสะดวกเมื่อเวลาพ่อเซ้อเปิดขันหมากจะพูดขึ้นว่า "มาพร้อมเงินน้ำหกคู่งาม เงินน้ำสามคู่แก้ว แต่งกันแล้วจะมีเงินมีทอง") ตลับเงินหรือตลับไม้ สำหรับใส่ค่าสินสอด ๔๒ บาท ๕๐ สตางค์ ใส่มาในถุงย่ามแดง และดาบอีกหนึ่งเล่มสะพายเพื่อป้องกันโจรปล้นขันหมาก
 
ป้จจุบันรูปแบบการแต่งงานได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมยุคใหม่ การเว้าสาวหรือการลมสาวก็เปลี่ยนไป เพราะบ้านเรือนไม่มีปล่องให้ล้วงเหมือนสมัยก่อน การถามห่อยา การขืนฮอย ไม่มีปฎิบัติกันแล้ว รวมทั้งค่าสินสอด ก็จะเรียกกันตามฐานะของคู่บ่าวสาว แต่จะยังคงห้อยท้ายเงินค่าน้ำนม จำนวน ๔๒ บาท ๕๐ สตางค์ การแต่งกายก็ประยุกต์ไปตามสมัยนิยม

การแตงงานมีการรดน้ำสังข์ ทำพิธีสงฆ์ ความเชื่อในเรื่องการถามหาห่อยา เมื่อมีการตายเกิดขึ้น ปัจจุบันจะแก้เคล็ดด้วยการทำพิธีขอใหม่ แต่คงแต่งในกำหนดการเดิม สำหรับเงินค่าแข็ง ที่จะให้พี่สาวที่ยังเป็นโสดของเจ้าสาว กับการห้าทำเครื่องแก้ว ถ้วยชามแตก ยังเป็นความเชื่อทึ่ถือปฎิบัติกันอยู่
 
กลับสู่ด้านบน >
 
ภาษาไทยพวนโบราณ
 
เกียรติคุณที่ได้รับ
 
ดูวีดีโอจากรายการต่างๆ
รวมรูปภาพ
 
 
ที่อยู่: 477/2 ต.หาดเสี้ยว อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 64130 โทร. 055 671143 แฟกซ์. 055 630119
 
 
 
© Copyright 2012. Sathorn Gold Textiles Museum. All rights reserved.