ขั้นตอนการทอผ้าไทยพวนศรีสัชนาลัย

ไทยพวนศรีสัชนาลัย
วิธีการทอผ้า
 

กรรมวิธีการทอผ้าของชาวไทยพวนศรีสัชนาลัย จากการได้ถ่ายทอกภูมปัญญาของบรรพบุรุษแต่เดิมมามีทารปลูกฝ้ายเองตามไร่หรือหัวไร่ปลายนา เมื่อดอกฝ้ายบานได้เก็บและคัดเลือกทำความสะอาด ดอกฝ้ายที่มีความสมบูรณ์นำไปสู่กรรมวิธีที่ทำเป็นเส้นด้าย และย้อมสีเส้นด้ายด้วยวัตถุดิบทางธรรมชาติ โดยนำส่วนต่างๆของต้นไม้มาใช้ ส่วนมากใช้รากไม้ เปลือกไม้ ดอกไม้ ใบไม้และเมล็ด เช่น สีดำ ได้จากผลมะเกลือ สีคราม ได้มาจากต้นคราม สีแดง ได้จากต้นยอป่า สีเหลืองได้จากขมิ้น ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่นไปสู่การทอผ้าต่อไป

ปัจจุบันนี้วิวัฒนาการเทคโนโลยีระบบอุตสาหกรรมการผลิตเส้นได้ก้าวหน้าขึ้น ความคงทนของเส้นด้ายมีสีสันหลากหลาย เพื่อความสะดวกรวดเร็วและง่ายต่อการเตรียมสีเส้นด้าย กรรมวิธีการเก็บดอกฝ้ายมาแปรรูปเป็นเส้นด้ายจึงได้เลือนหายไป

การเก็บดอกฝ้าย
 
การตูนฝ้าย (คัดและทำความสะอาดดอกฝ้าย)
 

อิ้วฟ้าย

 
อิ้วฟ้าย ฝ้ายที่จะนำมาทอต้องคัดเลือกฝ้ายที่ดี จะไม่ใช่ฝ้ายที่มีเมล็ดลีบแบน เด็กหญิงจะเริ่มฝึกหัดเลือกฝ้าย เก็บหยากเยื่อ สิ่งสกปรกที่ปะปนมา เรียกว่า หัดตูนฟ้าย (คัดและทำความสะอาดดอกฝ้าย) นำฝ้ายที่คัดเลือกไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท แล้วนำมาหีบแยกเมล็ดออก เรียกว่า อิ้วฟ้าย อิ้วฟ้ายจะใช้มือซ้ายป้อนฝ้ายเข้าในหีบ มือขวาหมุนลูกหีบ ฝ้ายที่ได้จะมี ๒ ชนิด ถ้าเส้นใยยาวจะนำมาทำด้าย ถ้าเส้นใยสั้นจะนำไปยัดเป็นไส้ผ้าห่ม พรม เบาะ
 

ยิงฝ้าย

 
ยิงฝ้าย เมื่อได้ฝ้ายที่หีบเมล็ดออกและแห้งสนิทดีแล้ว จะนำมาดีดให้พองตัว อุปกรณ์ที่ใช้จะมีตะลุ่ม กงฝ้ายและไม้ไผ่ขนาดเหมาะมือ ยาวประมาณ ๖-๗ นิ้ว กงฝ้ายมีลักษณะเหมือนคันธนู สิ่งที่ต่างจากคันธนู ก็คือ คันะนูต้องใช้คันและสายเป็นแรงส่งลูกธนู ส่วนกงฝ้ายไม่ต้องใช้คันเป็นแรงส่ง ใช้แต่เพียงสายดีดให้ไปกระทบฝ้ายเพื่อให้ฝ้ายพองตัวแล้วใช้ไม้ไผ่ขนาดกลมเท่ามือกำรอบยาวประมาณ ต-๗ นิ้ว เหนี่ยวสาย เวลาดีด มือซ้ายจะจับคันกงฝ้าย มือขวากำไม้ไผ่กลมๆ เหนี่ยวสายกงเข้าหาตัวผู้ดีด ให้สายหลุดไปกระทบฝ้าย จนฝ้ายพองตัวฟูขึ้น
 

ล้อมฝ้าย

 
ล้อมฝ้าย นำฝ้ายที่ดีดพองตัวแล้วนั้นมาทำให้มีรูปวงกลม โดยใช้ไม้กระดานกว้างประมาณ ๗-๘ นิ้ว ยาว ๑๒ นิ้ว รองพื้นล่าง ใช้ไม้กลมๆ คล้ายตะเกียบแต่ยาวกว่าตะเกียบ ๑ อัน เอาปุยฝ้ายมาคลี่ลงบนแผ่นกระดานแล้วใช้ ล้อมฝ้าย ล้อมฝ้าย นำฝ้ายที่ดีดพองตัวแล้วนั้นมาทำให้มีรูปวงกลม โดยใช้ไม้กระดานกว้างประมาณ ๗-๘ นิ้ว ยาว ๑๒ นิ้ว รองพื้นล่าง ใช้ไม้กลมๆ คล้ายตะเกียบแต่ยาวกว่าตะเกียบ ๑ อัน เอาปุยฝ้ายมาคลี่ลงบนแผ่นกระดานแล้วใช้ไม้ตะเกียบวางลงตรงกลางฝ้าย ใช้ฝ่ามือคลึงให้ฝ้ายม้วนตัวแน่นเข้าเหมือนปั้นเทียน มือขวาจับปลายไม้หมุนตามคล้ายเป็นไส้ เมื่อฝ้ายกลมดีก็ชักไม้ออกจะได้ฝ้ายเป็นแท่งกลมๆ ยาวประมาณ ๗-๘ นิ้ว กว้างประมาณ ๑.๕ นิ้ว ไม้ตะเกียบวางลงตรงกลางฝ้าย ใช้ฝ่ามือคลึงให้ฝ้ายม้วนตัวแน่นเข้าเหมือนปั้นเทียน มือขวาจับปลายไม้หมุนตามคล้ายเป็นไส้ เมื่อฝ้ายกลมดีก็ชักไม้ออกจะได้ฝ้ายเป็นแท่งกลมๆ ยาวประมาณ ๗-๘ นิ้ว กว้างประมาณ ๑.๕ นิ้ว
 

เข็นฝ้าย

 
เข็นฝ้าย การเข็นฝ้าย คือ การนำฝ้ายที่ล้อมไว้มาปั่นเป็นเส้นด้าย การเข็นฝ้ายต้องฝึกหัด ในปัจจุบันนี้มีผู้ทำได้น้อยเพราะจะใช้เส้นด้ายสำเร็จการเป็นส่วนใหญ่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข็นฝ้าย คือ หลา ผบางแห่งเรียกไน) การปั่นฝ้ายเป็นด้ายจะเป็นกรรมวิธีที่ยากกว่าการทำอย่างอื่นๆ เพราะมือต้องสัมพันธ์กันโดยมือขวาหมุนหลา เพื่อไปบังคับไลหลาให้หมุนตามไปด้วย คล้ายกับหมุนปั่นฝ้ายที่ออกจากล้อฝ้ายให้พันแล้วดึงเป็นเส้นด้ายยาว ม้วนเข้าไปอยู่กับหลา ทำเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะได้ด้ายเป็นกลุ่มเพียงพอแก่ความต้องการ แล้วจึงหยุดถอดด้ายจากไลหลาเก็บ โดยใช้ไม้เสียบแล้วนำไปเปีย
 

เปียฝ้าย

 
เปียฝ้าย การเปียฝ้าย คือ การนำด้ายจากหลอดที่เข็นแล้วออกมาพันไว้ เครื่องมือเปียลักษณะเป็นโคงใหญ่ทำให้เป็นไจ ด้ายที่เปียแล้วจะได้เป็นไจหรือเข็ดรวมกันได้ประมาณ ๕ ไจ พื้นบ้านเรียกว่า กำ หรือเข็ดหนึ่งเข็ด ด้ายที่เปียแล้วจะได้เป็นไจ หรือเข็ด แล้วนำไปย้อมสีและแช่น้ำข้าวตากให้แห้ง การย้อมสีนั้นแต่เดิมใช้สีธรรมชาติ ได้แก่

สีเหลือง ได้จาก ขมิ้น สีดำ ได้จาก ผลมะเกลือ สีคราม ได้จาก ต้นคราม สีแดง ได้จาก ต้นยอป่า สีม่วง ได้จาก ระกำ
 

ลงน้ำข้าวฝ้าย

 
ลงน้ำข้าวฝ้าย นำได้ที่ซื้อมา (ประมาณ ๕ กำ) ย้อมด้วยน้ำข้าว (น้ำที่รินจากหม้อหุงข้าว) ปัจจุบันใช้น้ำต้มข้าวสุกแทนเพราะการหุงข้าวเปลี่ยนมาใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
 

ตากฝ้าย

 
ตากฝ้าย เมื่อย้อมด้ายด้วยน้ำข้าวแล้ว นำมาผึ่งแดดให้แห้ง ทำความสะอาดโดยใช้ไม้ตีเอาผงข้าวสุกให้หลุดออกจากเส้นด้าย
 

กวักฝ้าย

 
กวักฝ้าย (กวักด้าย) การกวักฝ้าย คือ การนำด้ายที่ย้อมสีและน้ำข้าวแล้ว ไปใส่ในเครื่องมือกวัก เพื่อทำให้ด้ายมีความตึงเรียบเสมอกัน เมื่อกวักด้ายหลายกวัก เตรียมสำหรับนำไปค้น (โว้นเส้นด้าย) เป็นด้ายยืนในการทอต่อไป
 

ค้นหุ

 
ค้นหุ (การโว้นเส้นด้าย) นำด้ายที่อยู่ในกวักไปค้นเป็นเครือด้วยเผือ เรียกว่า เครือหุ หรือ เครือทูก ตามจำนวนผืนที่ต้องดาร
 

สืบหุ

 
สืบหุ (ต่อเส้นด้ายยืนเข้าฟืม) นำเครือทูกมาสืบในฟืมสำเร็จ มีเหาสำหรับยกเป็นลวดลาย
 

ฮ้างหุ

 
ฮ้างหุ (แต่งหุ) คือ การนำเครือทูกที่สืบใส่ฟืมเรียบร้อยไปขึงที่กี่ แต่งเครือทูกให้เรียบร้อยแล้วสางด้วยหวีขนหมูเพื่อเตรียมทอ ส่วนนี้เรียกว่า ฟ้ายเครือ หรือ ฟ้ายคั้ง (ฝ้ายยืน)
 

การทอผ้า

 
การทอผ้า ตามขั้นตอนการทอผ้าพื้น ผ้าลาย หรือผ้ามุก ส่วนผ้าซิ่นตีนจกนั้น อุปกรณ์หลักที่สำคัญ คือ หนามเม้ม (ขนเม่น) ใช้ในการจกเส้นด้ายจากด้านล่างขึ้นมาบนด้ายยืนสลับการทอให้เป็นลวดลายต่างๆ
 
กลับสู่ด้านบน >
 
ภาษาไทยพวนโบราณ
 
เกียรติคุณที่ได้รับ
 
ดูวีดีโอจากรายการต่างๆ
รวมรูปภาพ
 
 
ที่อยู่: 477/2 ต.หาดเสี้ยว อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 64130 โทร. 055 671143 แฟกซ์. 055 630119
 
 
© Copyright 2012. Sathorn Gold Textiles Museum. All rights reserved.